ปั้นรูปเหมือนหลวงปู่เจี๊ยะ ช่างปั้นรูปเหมือนพระเกจิ โดย. ช่างปั้นรูปเหมือน คุณเสน่ห์
ช่างปั้นรูปเหมือนพระเกจิ หลวงปู่เจี๊ยะ โดย. ช่างปั้นคุณเสน่ห์
ประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ ( พระครูสุทธิธรรมรังษี )
ในวงศ์พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่เจี๊ยะ ( พระครูสุทธิธรรมรังษี ) จะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับเรื่องธรรมภายใน กิริยาภายนอกที่สบาย ๆ ของท่านนั้นทำให้เป็นเหมือนม่านบังปัญญา บังตาเนื้อของชาวโลกที่นิยมชื่นชมด้านวัตถุชอบมองแต่สิ่งสวยงามภายนอก แต่ไม่เคยหันกลับมาย้อนดูภายในใจตน จึงมองท่านไม่ออก บอกไม่ถูก ผู้ไม่เท่าถึงในสิ่งที่มี ที่เป็น ที่ปรากฏภายในจิต เพราะธรรมชาติของจิตที่บริสุทธิ์ไม่มีอาการลวงเหมือนอาการทางกายวาจา
ถิ่นกำเนิดของท่าน บ้านคลองน้ำเค็ม ต.คลองน้ำเค็ม อ.แหลมสิงห์
จ.จันทบุรี
ชื่อเดิม หลวงปู่เจี๊ยะ คือ โอวเจี๊ยะ โพธิกิจ
บิดา มารดา ( พ่อ แม่ ) ของท่าน
- ชื่อโยมบิดาชื่อ นายซุ่นแฉ โพธิกิจ (แซ่อึ้ง) มาจากประเทศจีน
- ชื่อโยมมารดาชื่อ นางแฟ โพธิกิจ เป็นชาวจันทบุรี
ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นคนที่ 5
ท่านได้อุปสมบท
ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เวลา 16.19 น.
ณ พัทธสีมาวัดจันทนาราม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมี
พระครูครุนารถสมาจาร (เศียร) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูพิพัฒน์พิหารการ (เชย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พรสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์(ท่านพ่อลี ธมมธโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้ฉายาว่า “จุนฺโท” แปลว่า “ผู้หมดกิเลสเครื่องร้อยรัด”
- ท่านเกิด ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ( ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรง )
- ท่านมรณภาพ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เวลา 22.55 น.
- ท่านอายุ 88 ปี 78 วัน
- อุปสมบท ณ วันที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ. 2480
- พรรษา 67 ปี กับอีก 43 วัน
- ณ วัดป่าภูริทัตตปฎิปทาราม
- สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา ( พระครูสุทธิธรรมรังษี หรือ หลวงปู่เจี๊ยะ )
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ร่วมปฏิบัติธรรมจำพรรษากับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ที่เสนาสนะป่าช้าผีดิบบ้านหนองบัว ปัจจุบันคือวัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี
ท่านพระครูสุทธิธรรมรังษี ปฏิบัติกรรมฐานด้วยอิริยาบถ 3 คือ ยืนภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ แบบสละตาย ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานว่า (( "ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิ คือในเวลาค่ำคืนไม่นอนตลอดไตรมาส ด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าว่าแม้นข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะนี้ ขอให้ข้าพเจ้าถูกฟ้าผ่าตาย แผ่นดินสูบตาย ไฟไหม้ตาย น้ำท่วมตาย แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้าปฏิบัติตามสัจจะที่ตั้งไว้ได้ ขอจงเป็นผู้เจริญงอกงามในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เทอญฯ" ))
พรรษาที่ 3 จิตของท่านเกิดรวมครั้งใหญ่ใต้ต้นกระบก ด้วยการหยั่งสติปัญญาลงในกายานุปัสสนา หยั่งลงสู่ความจริงประจักษ์ใจ โลกสมมุติทั้งหลายไม่มีปรากฏขึ้นกับใจ ประหนึ่งว่าแผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด เหลือแต่จิตดวงบริสุทธิ์เท่านั้น
ปลายปี พุทธศักราช 2482 ท่านพระครูสุทธิธรรมรังษี ได้กราบลาท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และท่านพ่อลี ธมฺมธโร เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับสหธรรมิก คือท่านพระอาจารย์เฟื่อง โชติโก เพื่อนำธรรมที่รู้เห็นไปเล่าถวายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อถึงเสนาสนะวัดร้างป่าแดง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่นทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยตลอด จึงปูอาสนะนั่งรอท่าอยู่บนแคร่น้อยๆ เมื่อได้โอกาสอันสมควรจึงได้เล่าเรื่องภาวนาให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟังว่า ( ได้พิจารณากาย จนกระทั่งใจนี้มันขาดไปเลย ) ท่านพระอาจารย์มั่นนั่งฟังนิ่ง ยอมรับแบบอริยมุนี ไม่คัดค้านในสิ่งที่เล่าถวายแม้แต่น้อย
ต่อมาอีกไม่นานนัก ฟันของท่านพระอาจารย์มั่นหลุดแล้วท่านก็ยื่นให้ การที่ท่านมอบฟันให้นั้น หลวงปู่เจี๊ยะเล่าว่า ( ท่านคงรู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณ ว่าเราจะมีวาสนาสร้างภูริทัตตเจดีย์บรรจุทันตธาตุถวายท่านเป็นแน่แท้ )
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2483--2485 หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระคิลานุปัฏฐาก และเป็นปัจฉาสมณะ เป็นประดุจเงาติดตามตัวท่านพระอาจารย์มั่นมาโดยตลอด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นรับนิมนต์ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เดินธุดงค์จากทางภาคเหนือมายังภาคอีสาน พักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าเป็นที่ทิ้งศพโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี 2 พรรษา จึงธุดงค์จาริกต่อไปยังจังหวัดสกลนคร พักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกนี้เอง ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวชมเชยในคุณธรรมและนิสัยวาสนาของหลวงปู่เจี๊ยะท่ามกลางหมู่ สงฆ์ว่า ( ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ท่านผู้นี้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว ปฏิบัติเพียง 3 ปี เท่ากับเราปฏิบัติภาวนามาเป็นเวลา 22 ปี อันนี่อยู่ที่นิสัยวาสนาเพราะนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน )
ต้นปีพุทธศักราช 2492 ขณะที่ท่านเข้าที่หลีกเร้นภาวนาในดงป่าลึก ณ เชิงเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ในขณะที่ป่วยหนักนั้นท่านเล่าว่า ( จิตเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ตลอดเวลา พิจารณาจนกระทั่งจิตมันดับหมด หยุดความคิดค้น จิตปล่อย วางสิ่งทั้งปวง คว่ำวัฏฏจักร วัฏฏจิต แหวกอวิชชา และโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย กิเลสขาดสะบั้นออกจากใจ จิตมีอิสระอย่างสูงสุดเกินที่จะประมาณได้ )
ต้นปีพุทธศักราช 2493 หลังจากถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้วท่านจึงย้อนกลับไปจังหวัดจันทบุรีอันเป็นบ้านเกิด เพื่อโปรดโยมมารดาซึ่งป่วยหนัก ด้วยหวังจะทดแทนบุญคุณข้าวป้อนด้วยอรรถด้วยธรรม ท่านจึงดำริปักหลักสร้างวัดเขาแก้ว ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง และได้สร้างวัดบ้านสถานีกสิกรรม อำเภอพลิ้ว ถวายหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
ปีพุทธศักราช 2520 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้นิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสและร่วมสร้างวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี
ปีพุทธศักราช 2526 คณะศรัทธาได้ถวายที่ดินบริเวณบ้านคลองสระ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี แก่หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หลวงตาได้นิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาส และท่านได้สร้าง ( วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม )และพระครูสุทธิธรรมรังษี อยู่จำพรรษามาโดยตลอด
แม้ว่าท่าน ( พระครูสุทธิธรรมรังษี ) จะเป็นพระเถระผู้ใหญ่และได้สร้างวัดวาอารามใหญ่โตแล้ว ท่านก็ยังเที่ยวภาวนาตามป่าตามเขาท้องถ้ำและเงื้อมผา จนกระทั่งร่างกายเดินไม่ไหว
(ท่านมรณภาพด้วยอาการอันสงบและสง่างาม และอาจหาญในธรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เวลาประมาณ 23.55 น. สิริอายุรวม 88 ปี 2 เดือน 17 วัน 68 พรรษา)
บริการรับ ปั้นรูปพ่อแม่ รูปปั้นอาม่า รูปปั้นอากง รูปเหมือนบรรพบุรุษ รูปเหมือนของตัวท่านเองเท่าตัวจริง รูปหล่อพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง รูปหล่อบุคคลสำคัญ รูปหล่อองค์พระพุทธรูปปางต่างๆ หรือรูปปั้นมังกร รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม รูปปั้นเสือ รูปปั้นสิงห์โต รูปปั้นหงส์ รูปปั้นนกอินทรีย์ รูปปั้นม้า ฯลฯ เราทำให้ท่านได้ทั้งหมด ท่านสามารถเลือกวัตถุดิบที่ใช้ในการหล่อรูปที่ปั้นขึ้น เช่น ทองเหลือง ทองบรอนซ์ เรซิ่น เป็นต้น ที่นี่เราทำครบวงจร ท่านจะได้ครบทุกๆอย่างในจุดเดียว ทั้งปั้นและหล่อ หรือปั้นอย่างเดียว หรือหล่ออย่างเดียวเราก็ทำให้ท่านได้ ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบในการหล่อรูปปั้นได้ เราปรับเปลี่ยนและแก้ไขตามความต้องการของลูกค้าเป็นเกณฑ์จนกว่าจะเป็นที่พอใจของลูกค้า ที่นี่เรารับประกันความพึงพอใจของลูกค้า
โทร : 081-946-6159 คุณเสน่ห์ / ไลน์
โทร : 081-829-2423 คุณปฐมาพร / ไลน์
ไอดีไลน์ : artistic-thai-zone